top of page

ทันตกรรมสำหรับเด็ก Pedodontics

     ทันตกรรมสำหรับเด็กที่เรียกว่า "Pedodontics" หรือ "Pediatric Dentistry" เป็นสาขาทันตกรรมที่เน้นการดูแลและรักษาปัญหาทันตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเด็ก และเยาวชนตั้งแต่วัยทารกถึงวัย 12 ปี

    ทันตกรรมเด็กมีความเฉพาะตัวในการดูแลฟันเด็กที่ยังไม่ได้เติบโตเต็มที่ ซึ่งการดูแลทันตกรรมในวัยเริ่มต้นมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสุขภาพทันตกรรมทั้งระยะยาว
และระยะสั้นของเด็ก โดย Pedodontist มีหน้าที่ดูแลทันตกรรมทั้งในด้านป้องกันและรักษา รวมถึงการให้คำแนะนำและการฝึกฝนในการดูแลสุขภาพช่องปากให้เด็กเข้าใจและนำไปในการรักษาทันตกรรมเองในอนาคต

ครอบฟันสำหรับเด็ก Stainless steel crowns

     การครอบฟันน้ำนม หรือครอบฟันเด็ก ครอบฟันที่ใส่บนฟันน้ำนมที่เสียหายหรือผุ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงโดยใช้วัสดุเหล็กไร้สนิม หรือ Stainless Steel และปกป้องฟันน้ำนมไม่ให้แตกหัก ครอบฟันเด็กมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับลักษณะของฟันน้ำนมโดยการครอบฟันน้ำนมนี้มีจุดประสงค์เพื่อเก็บฟันน้ำนมที่ผุนั้นไว้โดยไม่ต้องถอนออก

stainless steel crown .png
stainless steel crown _.jpeg

ประโยชน์ของครอบฟันเด็ก

  • ช่วยป้องกันฟันน้ำนมแตกหัก ฟันน้ำนมที่เสียหายหรือผุอาจเปราะบางและแตกหักได้ง่าย การครอบฟันจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับฟันน้ำนมและป้องกันการแตกหัก

  • ช่วยรักษาการเคี้ยว ฟันน้ำนมที่แตกหักอาจทำให้การเคี้ยวอาหารทำได้ยาก การครอบฟันจะช่วยรักษาการเคี้ยวและช่วยให้เด็กรับประทานอาหารได้อย่างปกติ

  • ช่วยรักษารอยยิ้ม ฟันน้ำนมที่เสียหายหรือผุอาจทำให้รอยยิ้มดูไม่สวยงาม การครอบฟันจะช่วยปกปิดรอยเสียหายและทำให้รอยยิ้มดูสวยงาม

ประเภทการครอบฟันเด็ก

ครอบฟันน้ำนม หรือ ครอบฟันเด็ก แบบโลหะสีเงิน (Stainless Steel Crown)

รอบฟันน้ำนมแบบโลหะสีเงินนี้ มีชื่อเรียกหลายแบบ เช่น ครอบฟันเหล็ก ครอบฟันเด็กแบบสีเงิน ครอบฟันเงิน หรือ บางครั้งเรียกว่า ครอบฟันนางฟ้า ซึ่งเป็นแบบที่มีทั้งในฟันหน้าและฟันกราม มีข้อดี คือ แข็งแรง ทนทาน ทำได้ง่าย และราคาไม่สูง

ครอบฟันน้ำนมสีเหมือนฟัน หรือครอบฟันเด็กสีขาวด้วยวัสดุอุดฟัน (Strip Crown)

ครอบฟันเด็กสีเหมือนฟัน (ครอบฟันน้ำนมสีขาว) ด้วยวัสดุอุดฟันแบบ Strip Crown ครอบฟันน้ำนมสีเหมือนฟันที่ทำจากวัสดุชนิดเดียวกับวัสดุอุดฟันนี้ จะมีจุดอ่อนในเรื่องของความแข็งแรง

ครอบฟันน้ำนมสีเหมือนฟัน หรือครอบฟันเด็กสีขาวด้วยวัสดุอุดฟัน (Strip Crown)

ครอบฟันเด็กสีเหมือนฟัน (ครอบฟันน้ำนมสีขาว) แบบเซอร์โคเนียเซรามิกนี้ จะมีจุดเด่นในเรื่องของความสวยงามที่มาพร้อมกับความแข็งแรง เพราะเป็นวัสดุเซรามิกที่มีความแข็งแรงสูง และมีความสวยงามมันวาวเหมือนกับเนื้อฟันจริง

ขั้นตอนการทำการครอบฟันเด็ก
  • ทำการ X-Ray ทันตแพทย์เด็กจะทำการ X-Ray ฟันของเด็กๆที่จะต้องทำครอบฟันน้ำนม เพื่อตรวจดูรากฟันน้ำนมและโครงสร้างของฟันน้ำนม

  • ใส่ยาชา และแผ่นยางกันน้ำลายในช่องปากของเด็ก

  • ทำการรักษาด้วยการกรอเนื้อฟันส่วนที่ผุออกจะทำการกรอเนื้อฟันส่วนที่ผุออก และหากพบว่า รอยผุมีการทะลุจนถึงโพรงประสาทฟัน คุณหมอจะต้องทำการรักษารากฟันเด็กเสียก่อน

  • ทำการกรอเนื้อฟันบางส่วนออกจะทำการกรอเนื้อฟันบางส่วนออก เพื่อให้ฟันที่จะทำการครอบนั้น มีลักษณะเหมาะสม สำหรับการใส่ครอบฟันน้ำนมสำเร็จรูปที่เตรียมไว้ต่อไป

  • ทำการยึดครอบฟันน้ำนมด้วยซีเมนต์ทางทันตกรรมการครอบฟันน้ำนม โดยทันตแพทย์จะทำการยึดครอบฟันน้ำนมด้วยซีเมนต์ทางทันตกรรม เพื่อให้วัสดุที่ใช้ในการทำครอบฟันน้ำนม ไม่ว่าจะเป็นวัสดุที่ใช้สำหรับครอบฟันเด็กแบบโลหะสีเงินหรือครอบฟันเด็กสีเหมือนฟัน(สีขาว) สามารถยึดติดแน่นกับฟันน้ำนมได้

การดูแลรักษาหลังจากการครอบฟันเด็ก
  • หลังจากทำการครอบฟันเด็กเสร็จ ต้องระวังไม่ให้เด็กๆกัดปากหรือดูดแก้มเล่น

  • ต้องทำความสะอาด ครอบฟันน้ำนม จะต้องหมั่นทำความสะอาด ทั้งนี้เพราะ มีคราบจุลินทรีย์ เกาะที่ตัวครอบฟัน สีของครอบฟันจะมีลักษณะขุ่น

  • ไม่จำเป็นต้องมาถอดครอบฟันน้ำนม เนื่องจากครอบฟันน้ำนมที่ทำการรักษาไปนี้ ไม่ว่าจะเป็น ครอบฟันเด็กสีเงิน หรือ ครอบฟันเด็กสีขาว วัสดุที่ใช้สำหรับการครอบฟันน้ำนมนี้ จะสามารถหลุดไปได้เองพร้อมๆกับฟันน้ำนมซี่นั้นๆเมื่อฟันแท้จะเกิด

     ครอบฟันน้ำนม หรือการครอบฟันเด็กในปัจจุบันนี้ มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ โดยแต่ละแบบก็จะมีจุดเด่นและข้อจำกัดที่แตกต่างกันดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งฟันของเด็กแต่ละคนจะมีความเหมาะสมกับการทำครอบฟันเด็กแบบไหน คุณหมอฟันเด็กเฉพาะทางจะเป็นผู้ตรวจ ประเมินดู และวางแผนการรักษาร่วมกันกับคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครอง เพื่อให้ผลลัพธ์ในการทำรักษาด้วยวิธีการทำครอบฟันน้ำนมซี่นั้นๆ ประสบความสำเร็จสูงสุด

รักษารากฟันเด็ก pulp treatment

     " รากฟันเด็ก " มีความสำคัญมากขนาดไหน คุณทราบหรือไม่ อาการปวดฟันแบบไหนที่ลูกของคุณต้องรับการรักษารากฟันฟันผุลึกมากขึ้นจนถึงโพรงประสาทฟัน เด็กจะเริ่มมีอาการปวด ในระยะนี้จะทำการอุด หรือครอบฟันเลยไม่ได้

การรักษารากฟันเด็กคืออะไร?

     การรักษารากฟันเด็ก (pulp treatment) เป็นการรักษาฟันน้ำนมที่เนื้อเยื่อในฟัน (pulp) ตายหรือติดเชื้อจนไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการอื่นๆ โดยการรักษาจะมุ่งเน้นไปที่การกำจัดเนื้อเยื่อในฟันที่ตายหรือติดเชื้อออก และอุดคลองรากฟันด้วยวัสดุอุดคลองรากฟัน เพื่อปิดกั้นไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่โพรงประสาทฟัน

ความสำคัญการรักษา รากฟันน้ำนม ของเด็กถึงจำเป็นกว่าที่คิด?

     การรักษารากฟันเด็กนั้น กรณีที่เด็กมีอาการฟันผุในระดับรุนแรง หรือที่เรียกว่า ฟันทะลุถึงโพรงประสาท ทำให้เกิดความเจ็บปวดมาก ๆ มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้
     เด็กสูญเสียฟันน้ำนมก่อนกำหนดจะทำให้ฟันข้างเคียงเคลื่อนเข้าหาช่องว่าง ส่งผลให้ฟันแท้ของฟันน้ำนมซี่ที่ถอนไปไม่มีที่ขึ้น ทำให้ฟันแท้ขึ้นมาเรียงกันไม่เป็นระเบียบ เกิดปัญหาฟันซ้อน ฟันเก 

doctor-examines-oral-cavity-little-child-uses-mouth-mirror-checking-teeth-cavity.jpg

ข้อดีการรักษารากฟันเด็ก

  • ช่วยให้ฟันน้ำนมยังคงมีชีวิตอยู่และสามารถรักษาได้ต่อไป ฟันน้ำนมมีความสำคัญต่อพัฒนาการของฟันแท้ หากฟันน้ำนมหลุดก่อนเวลาอันควร อาจทำให้ฟันแท้ขึ้นไม่ตรงหรือซ้อนทับกัน

  • ช่วยลดความเสี่ยงในการสูญเสียฟันและทำให้เด็กมีฟันแท้ขึ้นอย่างเหมาะสม

  • ช่วยรักษาการเคี้ยวฟันน้ำนมที่รักษารากฟันแล้วจะมีโครงสร้างและรูปร่างเหมือนฟันซี่อื่นๆ สามารถใช้กัดอาหารได้อย่างปกติ

  • ช่วยป้องกันการแพร่กระจายของการติดเชื้อไปยังฟันซี่ใกล้เคียง หากฟันน้ำนมที่ติดเชื้อไม่ได้รับการรักษา เชื้อโรคอาจแพร่กระจายไปยังฟันซี่ใกล้เคียง

วิธีรักษารากฟันเด็ก

  • Xrays ฟันเพื่อประเมินเนื้อฟันที่เหลืออยู่ การอักเสบของฟัน

  • ทำการกรอรอยผุจนถึงโพรงประสาทฟันภายใต้ยาชาและการใส่แผ่นยางกันน้ำลาย

  • ล้างทำความสะอาดคลองรากฟัน และอุดด้วยวัสดุอุดคลองรากฟันที่เหมาะสม

  • บูรณะด้วยครอบฟันโลหะไร้สนิมต่อไป

ดูแลหลังเข้ารับการรักษารากฟันเด็ก

     หลังจากที่รักษารากฟันเด็กเรียบร้อยแล้ว ผู้ปกครองจะต้องใส่ใจในการดูแลทำความสะอาดช่องปากอย่างมาก โดยจะต้องให้เด็กแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น เพื่อป้องกันไม่มีคราบหินปูนขึ้นมาเกาะหนาจนทำให้เกิดเหงือกอักเสบ เลือดออก หรือโรคปริทันต์ตามมา นอกจากนี้จะต้องพาเด็กไปตรวจสุขภาพฟันและช่องปากทุกๆ เดือน หรือตามที่ทันตแพทย์แนะนำเพื่อตรวจติดตามผลการรักษาของครอบฟันเด็กที่ใส่ไปและให้ทันตแพทย์ช่วยทำการขูดหินปูนในช่องปาก ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดี ส่งผลให้ฟันแท้สามารถขึ้นมาได้อย่างปกตินั่นเอง

เครื่องมือกันช่องว่างสำหรับฟันแท้ appliance

     เครื่องมือกันช่องว่างในเด็กถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเครื่องมือนี้สามารถป้องกันไม่ให้ฟันของเด็กๆล้มจากการที่เด็กมีการสูญเสียฟันไปก่อนวัยอันควร

     เครื่องมือกันช่องว่างสำหรับฟันแท้ (appliance) ทันตแพทย์ใช้เพื่อรักษาช่องว่างระหว่างฟันแท้ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการถอนฟันน้ำนมก่อนวัยอันควรเครื่องมือกันช่องว่างมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ฟันแท้ขึ้นเรียงตัวกันอย่างเหมาะสมและป้องกันการสบฟันผิดปกติ

ฟันร่วงหล่น
ข้อดีของเครื่องมือกันช่องว่างสำหรับฟันแท้
  • ช่วยรักษาช่องว่างระหว่างฟันแท้ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการถอนฟันน้ำนมก่อนวัยอันควร

  • ช่วยให้ฟันแท้ขึ้นเรียงตัวกันอย่างเหมาะสมและป้องกันการสบฟันผิดปกติ

  • ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดฟันซ้อนทับกัน

  • คนไข้ไม่รู้สึกเจ็บขณะติดเครื่องมือ เนื่องจากไม่มีแรงกระทำต่อตัวฟัน

  • ช่วยให้การเคี้ยวอาหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  • ช่วยให้การออกเสียงชัดเจนขึ้น

  • ราคาเครื่องมือไม่แพงจนเกินไป

  • ป้องกันฟันเกฟันซ้อนฟันคุดได้

ข้อเสียของเครื่องมือกันช่องว่างสำหรับฟันแท้
  • ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บฟันหรือเสียวฟันในช่วงแรกๆ หลังจากใส่เครื่องมือ

  • อาจทำให้ผู้ป่วยพูดไม่ชัดในช่วงแรกๆ หลังจากใส่เครื่องมือ

  • อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอึดอัดหรือขัดใจในการใช้ชีวิตประจำวัน

  • อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอายที่จะต้องใส่เครื่องมือ

ผลที่อาจเกิดขึ้นหลังจากทำช่องว่างสำหรับฟันแท้ 
  • เจ็บฟัน ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บฟันเล็กน้อยในช่วงแรกๆ หลังจากใส่เครื่องมือกันช่องว่าง

  • พูดไม่ชัด ผู้ป่วยอาจพูดไม่ชัดเล็กน้อยในช่วงแรกๆ หลังจากใส่เครื่องมือกันช่องว่าง

ข้อควรปฏิบัติหลังจากใส่เครื่องมือกันช่องว่างสำหรับฟันแท้ 
  • ช่วงแรกของการใส่เครื่องมืออาจไม่รู้สึกชิน หากผ่านไป 2-3 วันอาการจะดีขึ้น
    หากรู้สึกผิดปกติในช่องปากควรพบหมอฟันเด็กทันที

  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อเครื่องมือหลุด เช่น การใช้ลิ้นหรือนิ้วดุนฟัน

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานทานหมากฝรั่งหรือลูกอม อาจทำให้เครื่องมือกันฟันหลวม

  • หากเครื่องมือหลุดหรือมีฟันแท้ขึ้นมาทดแทน ควรรีบไปพบหมอฟันเด็กทันที

  • เข้าพบหมอฟันเด็กตามนัดหมายเป็นประจำทุก 3-6 เดือน

ทันตกรรมป้องกันสำหรับเด็ก comprehensive treatment

     เป็นทันตกรรมสาขาหนึ่งให้คำปรึกษาการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของเด็กตั้งแต่แรกเกิด เพื่อป้องกันปัญหาการเป็นโรคฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ และโรคฟันอื่นๆ
     ทันตกรรมป้องกันสำหรับเด็กสามารถทำได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ
12 ปี ได้แก่ การขัดฟันเคลือบฟลูออไรด์ การอุดฟัน การเคลือบหลุมร่องฟัน และการปรับพฤติกรรมเด็ก

person-taking-care-teeth-hygiene.jpg
dentist-cleaning-child-s-teeth.jpg
close-up-view-little-boy-cleaning-his-teeth.jpg
ข้อดีของทันตกรรมป้องกันสำหรับเด็ก
  • การดูแลรักษาฟันที่ดีตั้งแต่ยังเป็นฟันน้ำนม ช่วยทำให้ทัศนคติเด็กต่อการรักษาฟัน ดูแลฟันในทิศทางที่ดี

  • การพูดที่ดีของเด็กที่ยังมีฟันน้ำนมหรือปัญหาการบดเคี้ยวและการขึ้นมาของฟันแท้อนาคตช่วยลดการเกิดฟันผุในฟันแท้จากการที่เด็กรู้จักการดูแลฟันเบื้องต้น

  • ช่วยลดค่าใช้จ่ายในเรื่องปัญหาฟันที่เกิดจากการไม่ดูแลในอนาคต

iconเซรั่ม (14).png
แนวทางแนะนำการดูแลฟันทันตกรรมป้องกันสำหรับเด็ก
  • ในเด็กเล็กให้ผู้ปกครองใช้ผ้าชุบน้ำและยาสีฟัน เช็ดฟันวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น

  • เด็กอายุ 8 ขวบขึ้นไป สอนเด็กแปรงฟันด้วยขนแปรงนุ่ม ร่วมกับยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ แปรงให้ทั่วทุกด้านและทุกซี่

  • ใช้ไหมขัดฟัน ใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง เพื่อทำความสะอาดซอกฟันที่แปรงฟันเข้าไปไม่ถึง

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง

  • ไปพบทันตแพทย์เป็นประจำ เด็กควรไปพบทันตแพทย์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและรับการรักษาหากจำเป็น

  • การเคลือบฟลูออไรด์ตั้งแต่ฟันซี่แรกขึ้น ทุกๆ 6 เดือน

  • ปรับพฤติกรรมเด็กที่อาจส่งผลทำให้ฟันผิดปกติในอนาคต เช่น การดูดนิ้วมือ ลิ้นดุนฟัน หายใจทางปาก

  • การเคลือบหลุมร่องฟันในฟันน้ำนมและฟันแท้ในกรณีที่มีหลุมร่องฟันลึก และเริ่มผุ

bottom of page